สำหรับบริษัท
ลาออกจากงานยังมีสิทธิได้เงินชราภาพ จาก “ประกันสังคม” หรือเปล่า

ลาออกจากงานยังมีสิทธิได้เงินชราภาพ จาก “ประกันสังคม” หรือเปล่า

14 กันยายน 2565

ลาออกจากงานยังมีสิทธิได้เงินชราภาพ จาก “ประกันสังคม” หรือเปล่า

14 กันยายน 2565

       เช็กเงินชราภาพประกันสังคม ลาออกจากงานสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตนมาตรา 33 ยังมีสิทธิได้รับเงินชราภาพหรือไม่


       ถือเป็นประเด็นที่หลายคนยังคงให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องกับ ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ..... ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพตามที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานร้องขอ โดยให้ผู้ประกันตนมีโอกาสเลือกบริหารจัดการเงินที่สะสมไว้กับเกณฑ์ใหม่ "3 ขอ" คือ ขอเลือก ขอกู้ และขอคืน


ขอเลือก

• สามารถเลือกขอรับเงินบำนาญชราภาพ หรือเงินบำเหน็จชราภาพ เมื่อนำส่งเงินสมทบครบเงื่อนไขการได้รับเงินบำนาญชราภาพ


ขอกู้
• นำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน


ขอคืน
• นำเงินชราภาพที่สมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนได้บางส่วน
โดยเฉพาะเรื่องของการขอเลือกรับเงินชราภาพ ระหว่างเงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งทางประกันสังคมก็ได้มีเงื่อนไขกำหนดไว้ดังนี้


เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ
• จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
• ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
• มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย


ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ
• กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
• กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย


เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ
• จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
• อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
• ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง


ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

• กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง
• กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
ทีนี้ก็เกิดคำถามกับผู้ประกันตนมาตรา 33 ว่า ถ้าเกิดลาออกจากงาน และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้ว จะได้รับเงินชราภาพตอนไหน คำตอบคือจะได้รับเงินชราภาพก็ต่อเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ ต่อให้ผู้ประกันตนลาออกในขณะที่อายุไม่ถึง 55 ปี ก็ถือว่ายังไม่สามารถยื่นขอเงินที่เคยส่งสมทบเข้าประกันสังคมไปก่อนหน้านี้ได้ทันที ซึ่งการยื่นของเงินคืนก็ต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนด รวมถึงระยะเวลาการส่งเงินสมทบด้วย


       นอกจากนี้ น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุถึงการขอคืนเงินสะสมชราภาพ จะต้องมีกฎหมายลูก รวมถึงหลักเกณฑ์ว่าสามารถขอคืนได้ไม่เกิน 30% ของเงินสมทบที่ลูกจ้างส่งมา ไม่ใช่ขอคืนเงินสะสมชราภาพได้ทั้งหมด และจะต้องมีเงื่อนไขอีกว่าหากเกษียณจะต้องหักเงินส่วนที่ขอคืนไปก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เงินบำนาญที่จะได้รับลดน้อยลง โดยจะต้องรอประกาศให้มีคำสั่งอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

Cr.sanook.com


TAGS : โควิด19 , อัปเดตตำแหน่งงาน , ประกันสังคม , ผู้ประกันตน , เงินชราภาพ , ผู้ใช้แรงงาน , เงินบำเหน็จ , บทความผู้หางาน , สมัครงาน , อัพเดตตำแหน่งงาน , ดูดวง

บทความที่ได้รับความนิยม
งานที่น่าสนใจ